เทศกาล Valentine นั้น เป็นเทศกาลแห่งความรัก หรือในอีกแง่มุมหนึ่งก็เรียกได้ว่าเป็นเทศกาลแห่งการให้ แต่ส่วนใหญ่นั้นจะเป็นการแสดงความรักของวัยรุ่นหนุ่ม - สาวมากกว่า
ในปัจจุบันนั้นผู้คนส่วนใหญ่ค่อนข้างให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะคู่รัก และก็ยังมีครอบครัว, เพื่อน, พี่ - น้อง ก็มักจะมอบสิ่งของที่ระลึกแทนใจให้แก่กัน เราจึงต้องการให้ตัวสิ่งของที่จะมอบให้แก่กันนั้นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจและสามารถใช้งานได้จริง เพราะเมื่อสิ่งของชิ้นนั้นสามารถนำไปใช้ได้ก็จะทำให้ผู้ใช้นั้นนึกถึงคนที่ให้ของชิ้นนั้นมาทุกครั้งที่เห็นมัน เป็นการช่วยเพิ่มคุณค่าสิ่งของชิ้นนั้นขึ้นไปอีก เพราะของบางชิ้นนั้นซื้อไปแล้วก็นำไปตั้งทิ้งไว้, หมดอายุหรือเหี่ยวเฉา หรือไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้ ก็จะเป็นการทำให้ของชิ้นนั้นดูด้อยค่าลง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อผลิต/จัดทำ และจำหน่ายในงาน Gift On The Moon 2013
ในวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2556
2. เพื่อประมวลความรู้ที่เกี่ยวข้องมาเป็นแนวทางสำหรับการออกแบบ
3. เพื่อศึกษาคุณสมบัติของวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อนำมาประดิษฐ์เป็นสินค้าตามรูปแบบที่คิดไว้
แนวความคิดในการออกแบบที่คั่นหนังสือ
ที่คั่นหนังสือจะมีลวดลายเป็นกุหลาบสีต่างๆ ใช้เพื่อสื่อความหมายต่างๆกันไปตามแต่โอกาส และความต้องการ เช่น สีแดง สื่อถึงอาการแอบรัก, แอบชอบ หรือหลงไหล และสามารถซ่อนข้อความบางอย่างลงไปได้เพื่อส่งข้อความลับให้กับคนที่เราต้องการสื่อถึงให้ได้รับรู้ เช่น การอ่าน Code
การดำเนินการออกแบบ
1. ความต้องการและจุดมุ่งหมาย(Concept)
ต้องการที่คั่นหนังสือที่มีความหมายแฝงอยู่ในตัว และสื่อความหมายเข้ากับหัวข้องานที่ได้รับ ซึ่งนั่นก็คือ Love Product และสามารถใส่ข้อความลับลงไปได้
2. รูปลักษณ์ที่ต้องการ(Design Briefs)
2.1 ที่คั่นหนังสือที่สามารถทำได้ง่าย ราคาค่าวัสดุไม่แพง
2.2 ม่ีความหมายแฝงในตัวเองและสามารถใช้เป็นตัวกลางในการสื่อสารได้
โดยมีขั้นตอนการออกแบบ การแก้ปัญหาและพัฒนารูปแบบจนกระทั่งสำเร็จเป็นผลงานออกแบบที่ใช้งานได้จริงดังนี้
1. ร่างแบบเพื่อหารูปแบบที่จะนำไปสู่การพัฒนาสินค้า
1.1 การออกแบบสินค้าต้นแบบเพื่อดูภาพรวมและพัฒนาสินค้าให้สมบูรณ์ตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ภาพต้นแบบของสินค้าแบบแรก ที่มาของภาพ : นาย ณัฐสิทธิ์ วงศ์นิบุญกิจ, 2556
ภาพแบบสินค้าแบบแรก ลายดอกกุหลาบนั้นใช้การตัดทอนและวาดขึ้นมา แต่ว่าแบบนั้นยังไม่สวยพอ อาจารย์เลยแนะนำให้เปลี่ยนวิธีเป็นการถ่ายรูปแทน
ข้อมูลตัวสินค้า
ชื่อสินค้า : QR Love Marks
ประเภท : เครื่องเขียน
สถานะ : ที่คั่นหนังสือ
วัสดุหลัก : กระดาษ
ผู้ผลิต : นาย ณัฐสิทธิ์ วงศ์นิบุญกิจ
โทรศัพท์ : 084-007-5891
E-mail : nuttasit.w.0@gmail.com
สี : ดอกกุหลาบ: แดง/ นํ้าเงิน/ เหลือง
ขนาด/มิติ : กว้าง 4 cm. ยาว 14 cm.
ราคา : 10 บาท/ชิ้น
เทคนิค
รูปแบบการพิมพ์ : การพิมพ์แบบ Inkjet
จำนวนสีที่ใช้ในการพิมพ์ : 4 สี
การเคลือบ : เคลือบพลาสติกแข็ง
การออกแบบกราฟิก
ภาพประกอบ : ภาพถ่ายดอกกุหลาบ
ลวดลาย : ลายกราฟิกเป็นแจกันที่ใส่ดอกกุหลาย และก้านดอกกุหลาบพื้นหลังตกแต่งภาพพื้นหญ้า และท้องฟ้าให้เบลอ
ข้อความ : ข้อความลับถูกซ่อนอยู่ในรูปของ QR Code ต้องใช้ Application ของ Smart Phone ในการอ่าน Code ถึงจะเห็นข้อความที่ซ่อนไว้ได้ เช่น I Love You
2. เครื่องมือ
อุปกรณ์ในการผลิตที่คั่นหนังสือ
1. กระดาษ
1.1 กระดาษ 80-100 แกรม
1.2 กระดาษอาร์ตมัน
2. อุปกรณ์ด้านเทคโนโลยี
2.1 การออกแบบ
2.1.1 โปรแกรม Adobe Photoshop
2.1.2 โปรแกรม Adobre Illustrator
2.2 การพิมพ์
2.2.1 เครื่องพิมพ์ Inkjet
3. Packaging
3.1 ถุงพลาสติกใส(ถุงแก้ว) ขนาด 7*2 นิ้ว
การผลิตงาน
ขั้นตอนการผลิตโดยการออกแบบที่คั่นหนังสือ
ภาพแบบสินค้าชิ้นที่สองหลังจากแก้ไขเรื่องรูปภาพดอกกุหลาบ ที่มาของภาพ : นาย ณัฐสิทธิ์ วงศ์นิบุญกิจ, 2556
ภาพต้นแบบ QR Code ที่นำมาใช้ออกแบบ Logo สินค้า ที่มาของภาพ : นาย ณัฐสิทธิ์ วงศ์นิบุญกิจ, 2556
ขั้นตอนในการทำที่คั่นหนังสือ
1. นำรูปที่ถ่ายไว้มาตกแต่งและออกแบบลวดลายของที่คั่นหนังสือในโปรแกรม Adobe Photoshop
ภาพขั้นตอนการออกแบบลวดลายของที่คั่นหนังสือในโปรแกรม Adobe Photoshop
ที่มาของภาพ : นาย ณัฐสิทธิ์ วงศ์นิบุญกิจ, 2556
2. นำ QR Code ที่ใช้ในตัวสินค้ามาดัดแปลง เป็น Logo ของตัวสินค้า
ภาพขั้นตอนการออกแบบ Logo ของสินค้า QR Love Marks ในโปรแกรม Adobe Photoshop
ที่มาของภาพ : นาย ณัฐสิทธิ์ วงศ์นิบุญกิจ, 2556
3. นำภาพมาตกแต่งลวดลาย ทำเป็นแผ่นรองหลังเพื่อใส่ในซองบรรจุภัณฑ์เพื่อความสวยงาม และใช้บอกคุณสมบัติของตัวที่คั่นหนังสือ
ภาพขั้นตอนการออกแบบลวดลายของที่แผ่นรองหลังในซองบรรจุภัณฑ์ ในโปรแกรม Adobe Photoshop ที่มาของภาพ : นาย ณัฐสิทธิ์ วงศ์นิบุญกิจ, 2556
4. นำภาพของแต่ละส่วนมาจัดเรียงรวมกันเพื่อนำไปพิมพ์ออกมาเป็นชุด เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิต
ภาพการจัดเรียงรูปแต่ละส่วนเพื่อนำไปพิมพ์ ในโปรแกรม Adobe Photoshop
ที่มาของภาพ : นาย ณัฐสิทธิ์ วงศ์นิบุญกิจ, 2556
ขั้นตอนในการทำที่คั่นหนังสือ
1. นำรูปที่ถ่ายไว้มาตกแต่งและออกแบบลวดลายของที่คั่นหนังสือในโปรแกรม Adobe Photoshop
ภาพขั้นตอนการออกแบบลวดลายของที่คั่นหนังสือในโปรแกรม Adobe Photoshop
ที่มาของภาพ : นาย ณัฐสิทธิ์ วงศ์นิบุญกิจ, 2556
2. นำ QR Code ที่ใช้ในตัวสินค้ามาดัดแปลง เป็น Logo ของตัวสินค้า
ภาพขั้นตอนการออกแบบ Logo ของสินค้า QR Love Marks ในโปรแกรม Adobe Photoshop
ที่มาของภาพ : นาย ณัฐสิทธิ์ วงศ์นิบุญกิจ, 2556
3. นำภาพมาตกแต่งลวดลาย ทำเป็นแผ่นรองหลังเพื่อใส่ในซองบรรจุภัณฑ์เพื่อความสวยงาม และใช้บอกคุณสมบัติของตัวที่คั่นหนังสือ
ภาพขั้นตอนการออกแบบลวดลายของที่แผ่นรองหลังในซองบรรจุภัณฑ์ ในโปรแกรม Adobe Photoshop ที่มาของภาพ : นาย ณัฐสิทธิ์ วงศ์นิบุญกิจ, 2556
4. นำภาพของแต่ละส่วนมาจัดเรียงรวมกันเพื่อนำไปพิมพ์ออกมาเป็นชุด เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิต
ภาพการจัดเรียงรูปแต่ละส่วนเพื่อนำไปพิมพ์ ในโปรแกรม Adobe Photoshop
ที่มาของภาพ : นาย ณัฐสิทธิ์ วงศ์นิบุญกิจ, 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น